เกาหลีแบนลิปซิงค์: ส่งเสริมหรือทำลายวงการเพลง ?

ยุค สมัยของการ “ลิปซิงค์” ในวงการเพลงเกาหลีใต้อาจจะกำลังเดินทางมาถึงจุดสิ้นสุดแล้ว เมื่อสมาชิกสภาผู้แทนได้ยื่นเอกสารต่อรัฐบาล หวังออกกฎหมายเพื่อแบนการแสดงลิปซิงค์ รวมทั้ง “แฮนด์ซิงค์” บนเวทีคอนเสิร์ตให้หมดไปจากวงการเพลง

เป็นที่วิจารณ์กันอยู่พอสมควรใน วงการเพลงเกาหลีใต้ สำหรับการแสดงบนเวทีคอนเสิร์ตด้วยวิธีการ “ลิปซิงค์” หรือ “แฮนซิงค์” (แสดงท่าทางเล่นดนตรีบนเวทีคอนเสิร์ต แต่ความจริงเสียงเพลงมาจากการเปิดเพลงที่มีการบันทึกเสียงเอาไว้ก่อนหน้า นั้นแทน) ซึ่งถูกใช้อย่างพร่ำเพรื่อในระยะหลัง จนกระทั่งล่าสุดกลุ่มการเมืองแนวอนุรักษ์นิยมอย่าง “พรรคเสรีก้าวหน้า” (Liberty Forward Party: LFP) ได้ยื่นกฎหมายเพื่อหวังยุติการกระทำที่เป็นการ “หลอกลวง” คนดูในลักษณะนี้แล้ว

โดยในวันที่ 13 พ.ค. ที่ผ่านมาสมาชิกวุฒิสภา อีมยองซู สังกัดพรรค LFP ได้ยื่น “กฎหมายการแสดงในที่สาธารณะ” ฉบับใหม่ที่ระบุอย่างชัดเจนว่า ลิปซิงค์หรือแฮนด์ซิงค์คือสิ่งผิดกฏหมาย !!!

ราย ละเอียดของกฏหมายระบุว่าห้ามศิลปินใช้วิธีการลิปซิงค์หรือ แฮนด์ซิงค์ระหว่างการแสดงเชิงพาณิชย์ นอกจากนั้นยังห้ามไม่ให้สถานีโทรทัศน์แพร่ภาพการแสดงของศิลปินในลักษณะดัง กล่าว หากเป็นการแสดงที่ตัวของศิลปินได้รับค่าจ้าง หากฝ่าฝืนผู้มีความผิดอาจจะต้องโทษจำคุกเป็นเวลา 1 ปี, ปรับเงิน 10,000 เหรียญสหรัฐฯ ขึ้นไป หรืออาจจะทั้งจำทั้งปรับก็ได้

โดยกฎหมายยังมีข้อ ยกเว้น สำหรับกรณีที่ศิลปินไม่สามารถหลีกเลี่ยงการลิปซิงค์หรือแฮนด์ซิงค์ได้จริงๆ ก็ต้องมีการประกาศอย่างเป็นทางการ ให้ประชาชนผู้ชมการแสดงได้รับทราบล่วงหน้า ก่อนหน้าจะมีการแสดงครั้งนั้นๆไป

เกาหลีกับกฎหมายแบนลิปซิงค์ : ส่งเสริมหรือทำลายวงการเพลง ?

ยัง มีประเด็นที่น่าสนใจเมื่อ “วุฒิสมาชิกอีมยองซู”ผู้เสนอกฎหมาย ยังแสดงความเห็นว่า เขาต้องการให้กฎหมายฉบับนี้แก้ไขปัญหาในอุตสาหกรรมเพลง ที่ขณะนี้เต็มไปด้วยศิลปินแนวไอดอลที่เน้นการเต้นรำมากกว่าจะเป็นการร้อง เพลง

“ในอดีตที่ผ่านมา คนดูมีโอกาสได้รับชมการแสดงของศิลปินจากหลากหลายแนวทั้งเพลงบัลลาด, เพลงเต้นรำ หรือเพลงทร็อต แต่ตอนนี้เรามีแต่คณะไอดอลแนวเต้นรำที่ได้รับความสนใจ ศิลปินในแนวทางนี้เป็นนักร้องที่ทุ่มเทการฝึกฝนเพื่อการแสดงทางภาพลักษณ์ มากกว่าจะเป็นทางด้านความสามารถทางการร้องเพลงเป็นหลัก” อีมยองซู กล่าว

เขา ยังอ้างอิงการแสดงในพิธีเปิดกีฬาโอลิมปิกที่กรุงปักกิ่งเมื่อ 3 ปีก่อน ว่าเป็นจุดเปลี่ยน ที่ทำให้ประเทศจีนสามารถออกกฏหมายต่อต้านการลิปซิงค์สำเร็จมาแล้ว

“ยก ตัวอย่างในโอลิมปิกที่ปักกิ่งเมื่อปี 2008 มีเด็กผู้หญิงหน้าตาน่ารัก ผู้กลายเป็นที่สนอกสนใจหลังจากเธอได้มีโอกาสร้องเพลงในพิธีเปิด แต่กลายเป็นว่ามีเด็กผู้หญิงรุ่นราวคราวเดียวอีกคนหนึ่ง ที่อยู่หลังฉาก เป็นคนร้องเพลงตัวจริง แม้มันจะน่าอาย แต่จีนก็สามารถทำงานจนตรากฎหมายเพื่อแบนการลิปซิงค์ได้ในที่สุด”

“เมื่อ กลับมามองที่ประเทศของเรา คนจำนวนมากซื้อตั๋วราคาแพงเพื่อชมการร้องเพลง หรือเล่นดนตรีของศิลปิน แต่การใช้วิธีลิปซิงค์หรือแฮนด์ซิงทำให้เกิดวิกฤติศรัทธาในวงการ และเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาของอุตสาหกรรมดนตรี เราออกกฎหมายฉบับนี้ก็เพราะต้องการแก้ไขปัญหาเหล่านี้นั่นเอง”

กฎหมาย การแสดงในที่สาธารณะ กลายเป็นประเด็นร้อนในหมู่บุคลากรวงการดนตรี รวมถึงเหล่าผู้ฟังอย่างรวดเร็ว และขณะนี้ก็ยังมีความคิดเห็นแตกออกเป็นสองฝ่าย ขณะที่คนกลุ่มหนึ่งเห็นว่ากฎหมายแบนลิปซิงค์เป็นเรื่องถูกต้อง แต่ก็ยังมีคนไม่เห็นด้วย และมองว่ามันจะทำให้วงการเพลงที่กำลังอยู่ในช่วงขาขึ้นต้องสะดุดลงอย่างไม่ จำเป็น

“มันไม่ใช่เรื่องเลยที่นักร้องได้เงินมากมายจากการแค่ลิปซิงค์ ในคอนเสิร์ต” เป็นความคิดเห็นของชาวเกาหลีใต้ ที่ถ่ายทอดผ่านเว็บไซต์ชื่อดังแห่งหนึ่ง ซึ่งเห็นด้วยกับกฏหมายฉบับนี้

ส่วน คนที่ไม่เห็นด้วย ก็คิดว่ากฎหมายแบนลิปซิงค์จะเป็นอุปสรรค ต่อวงการดนตรีเกาหลีใต้ที่กำลังรุ่งเรืองเสียเอง “มีศิลปินหลายกลุ่มหลายคน ที่มีการแสดงซึ่งค่อนข้างจะเน้นหนักไปที่การเต้น และกลุ่มศิลปินไอดอลเหล่านี้นั่นแหละ ที่เป็นกำลังสำคัญต่อกระแสคลื่นบันเทิงเกาหลี การถูกขัดขวางด้วยกฎหมายแบบนี้จึงเป็นเรื่องที่ไม่สมเหตุสมผลเอาเสียเลย” ชาวเกาหลีใต้ที่คัดค้านแสดงความเห็นในโลกออนไลน์